วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Note 8 Date 4th October 2019



Note 8 Date 4th October  2019






วันนี้อาจารย์ได้บอกรายละเอียดในการไปทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ ศูนย์เด็กเล็กปฐมวัยชุมชนเสือใหญ่

อาจารย์ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มของตนเองเพื่อที่จะได้เขียนเขียนโครงการในการไปทำกิจกรรมครั้งนี้



ตัวอย่างโครงการของกลุ่ม












วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562

Note 7 Date 20th September 2019



Note 7 Date 20th September  2019




วันนี้นำเสนอการทดลองต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ยังคงให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขและปรับปรุง ในการนำไปใช้ในการสอนจริง









กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้ให้เรานำขวดน้ำออกมาแต่ละกลุ่มต้องใช้ขวดชนิดเดียวกันทุกกลุ่ม พอได้ขวดนำแล้วให้ตัดตามที่อาจารย์กำหนด เสร็จแล้วนำน้ำเปล่ามาเติมให้เต็มให้ถึงปากแก้ว

จากนั้นอาจารย์ให้เราเตรียมเหรียญบาทออกมา เอาออกมาเท่าที่มี และอาจารย์ก็ให้เราใส่เหรียญลงไปกว่าน้ำจะล้นออกมา และเพิ่มจากเหรียญบาทเป็นเหรียญห้าบ้างเหรียญสิบบาทบ้าง

🔻🔻🔻🔻🔻🔻














วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

Note 6 Date 13th September 2019




Note 6 Date 13th September  2019







วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองที่แต่ละกลุ่มได้เลือกไว้อาจารย์ กลุ่มของหนูได้เสนอการทดลอง เรื่อง สถานีเติมลม และอาจารย์ได้พูดถึงทักษะวิทยาศาสตร์หลัง






จากนั้นอาจารย์ก็ให้นั่งตามกลุ่มแล้วช่วยกันวาดแหล่งน้ำมา1แหล่ง โดยจะให้เพื่อนๆทายว่าแหล่งน้ำที่วาดมาจากที่ไหน อยู่จังหวัดใด แล้วชื่อว่าอะไร กลุ่มของฉัน >>วาดน้าตกเอราวัณ<<

และอาจารย์ก็ให้พวกเราออกแบบแทงค์น้ำ เพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้


**ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทั้งหมด 13ทักษะ ดังนี้**

ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส เข้าสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อให้ทราบ และรับรู้ข้อมูล รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตน ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกต

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
สามารถแสดงหรือบรรยายคุณลักษณะของวัตถุได้ จากการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
สามารถบรรยายคุณสมบัติเชิงประมาณ และคุณภาพของวัตถุได้
สามารถบรรยายพฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้

ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring) หมายถึง การใช้เครื่องมือสำหรับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณของสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขในหน่วยการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำได้ ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด รวมถึงเข้าใจวิธีการวัด และแสดงขั้นตอนการวัดได้อย่างถูกต้อง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่วัดได้
สามารถบอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือวัดได้
สามารถบอกวิธีการ ขั้นตอน และวิธีใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
สามารถทำการวัด รวมถึงระบุหน่วยของตัวเลขได้อย่างถูกต้อง

ทักษะ ที่ 3 การคำนวณ (Using numbers) หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุ และการนำตัวเลขที่ได้จากนับ และตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น โดยการเกิดทักษะการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์ การแสดงวิธีคำนวณ และการคำนวณที่ถูกต้อง แม่นยำ

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
สามารถนับจำนวนของวัตถุได้ถูกต้อง
สามารถบอกวิธีคำนวณ แสดงวิธีคำนวณ และคิดคำนวณได้ถูกต้อง

ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การเรียงลำดับ และการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือรายละเอียดข้อมูลด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
สามารถเรียงลำดับ และแบ่งกลุ่มของวัตถุ โดยใช้เกณฑ์ใดได้อย่างถูกต้อง
สามารถอธิบายเกณฑ์ในเรียงลำดับหรือแบ่งกลุ่มได้

ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships)
สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ ซึ่งอาจมีรูปร่างเหมือนกันหรือแตกต่างกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
สามารถอธิบายลักษณะของวัตถุ 2 มิติ และวัตถุ 3 มิติ ได้
สามารถวาดรูป 2 มิติ จากวัตถุหรือรูป 3 มิติ ที่กำหนดให้ได้
สามารถอธิบายรูปทรงทางเราขาคณิตของวัตถุได้
สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 2 มิติ กับ 3 มิติได้ เช่น ตำแหน่งหรือทิศของวัตถุ และตำแหน่งหรือทิศของวัตถุต่ออีกวัตถุ
สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับเวลาได้
สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงขนาด ปริมาณของวัตถุกับเวลาได้

ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น ผ่านการเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ วงจร เขียนหรือบรรยาย เป็นต้น

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
สามารถเลือกรูปแบบ และอธิบายการเลือกรูปแบบในการเสนอข้อมูลที่เหมาะสมได้
สามารถออกแบบ และประยุกต์การเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปใหม่ที่เข้าใจได้ง่าย
สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย
สามารถบรรยายลักษณะของวัตถุด้วยข้อความที่เหมาะสม กะทัดรัด และสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย

ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่มี

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายหรือสรุปจากประเด็นของการเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้มา

ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลบนพื้นฐานหลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่ ทั้งภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกขอบเขตของข้อมูลในเชิงปริมาณได้

ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) หมายถึง การตั้งคำถามหรือคิดคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดยสมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถอธิบายคำตอบได้

 ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองได้
สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆได้

ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) หมายถึง การกำหนด และอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำหรือตัวแปรต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการทดลองได้

ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ และกำหนดลักษณะตัวแปรใดๆให้เป็นเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรควบคุม

ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งที่ต้องการทดลองเพื่อให้ทราบว่าเป็นสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นหรือไม่

ตัวแปรตาม คือ ผลที่เกิดจากการกระทำของตัวแปรต้นในการทดลอง

ตัวแปรควบคุม คือ ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่อาจมีผลมีต่อการทดลองที่ต้องควบคุมให้เหมือนกันหรือคงที่ขณะการทดลอง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถกำหนด และอธิบายตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองได้

ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติ และทำซ้ำในขั้นตอนเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนการทดลองจริงๆ เพื่อกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการทดลองที่สามารถดำเนินการได้จริง รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการทดลองเพื่อให้การทดลองสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การปฏิบัติการทดลองจริง
3. การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต การวัดและอื่น ๆ

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
สามารถออกแบบการทดลอง และกำหนดวิธี ขั้นตอนการทดลองได้ถูกต้อง และเหมาะสมได้
สามารถระบุ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการทดลองอย่างเหมาะสม
สามารถปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
สามารถบันทึกผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง

ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) หมายถึง การแปรความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ

การลงข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ และการสรุปผลความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปประเด็นสำคัญของข้อมูลที่ได้จากการทดลองหรือศึกษา

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ
สามารถในการวิเคราะห์ และสรุปประเด็นสำคัญ รวมถึงการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะของข้อมูล
สามารถบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลได้





















บรรยากาศภายในห้องเรียนวันนี้







วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

Note 5 Date 4th September 2019



Note 5 Date 4th September  2019




วันนี้อาจารย์ได้นัดพวกเรามาเพื่อมอบหมายงาน โดยอาจารย์ได้แจกการทดลองวิทยาศาสตร์จากบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มเพื่อที่จะให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มไปเลือกเอาว่าจะเอาอันไหน โดยการทดลองที่หนูเลือกนั้นก็คือ...


เรื่อง  อากาศ
ปรากฏการณ์ อากาศมีตัวตน
การทดลอง    ที่ 1





สถานีเติมลม
แนวคิดหลักของการทดลอง
        อากาศมีตัวตน และอากาศต้องการที่อยู่ โดยอากาศมีน้ำหนักเบากว่าน้ำ อากาศจึงลอยขึ้นด้านบน ผิวน้ำและเคลื่อนที่ขึ้นเป็นแนวเส้นตรงเสมอ
 เริ่มต้นจาก
      เติมน้ำลงไปในอ่างและใช้หลอดดูดเป่าอากาศลงไปในน้ำ เด็กๆสังเกตเห็นอะไรบ้าง ฟองอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีลักษณะอย่างไร
      เติมน้ำให้สูง 3/4 ส่วน ของอ่าง และเติมสีผสมอาหารลงไป ใช้สีน้ำหรือหมึกก็ได้
      นำแก้วมา 1 ใบ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าภายในแก้วแห้ง
      คว่ำแก้วลงและค่อยๆ กดแก้วลงไปในน้ำ ให้ตั้งฉากกับผิวน้ำ
      เด็กๆต้องออกแรงกดแก้ว เพิ่มมากขึ้น เป็นพิเศษหรือไม่แก้วสามารถลอยอยู่ในน้ำได้เองหรือไม่
      ค่อยๆดึง แก้วออกจากน้ำ สังเกตผิวด้านในของแก้วว่าเปียกหรือแห้ง
      หลังจากนั้นให้คว่ำแก้วลง เหมือนเดิม และกดแก้วลงไปในแนวดิ่ง ต้นแก้วจมมิดลงไปใต้น้ำ จากนั้นให้เอียงแก้วเล็กน้อย สังเกตเกิดอะไรขึ้น มีอะไรพูดออกมาจากแก้ว
      นำแก้วขึ้นจากน้ำ ภายในแก้วยังคงแห้งอยู่เหมือนเดิมหรือไม่
 ทดลองต่อไป
      เด็กๆมีวิธีดักจับฟองอากาศที่ผุดออกมาจากแก้วน้ำที่เองได้หรือไม่ ลองทำตามวิธีดังต่อไปนี้
      ขั้นแรก  วางแก้วใบเล็กหมายลงในอ่างแล้วเติมน้ำลงไปในอ่างจนท่วมแก้วจากนั้นจึงจับแก้วคว่ำลง
      ค่อยๆดึงแก้วน้ำขึ้นมาเล็กน้อย โดยให้ปากแก้วยังคงอยู่ใต้น้ำ (รูปที่ 2)
      ใช้มืออีกข้างหนึ่ง ดันแก้วขนาดกลาง ลงในน้ำ โดยคว่ำแก้วลง ไม่ให้ฟองอากาศผุดออกมาได้
      เด็กๆสามารถกดแก้วขนาดกลางลงในน้ำ และเวียงแก้วเพื่อดักจับฟองอากาศด้วยแก้วใบเล็กไปพร้อมกันได้หรือไม่ (รูปที่ 3) ถ้าทำได้ ให้เด็กๆถ่ายฟองอากาศ ถ้าแก้วขนาดกลาง ไปยังแก้วใบเล็ก
สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
        ไม่ว่าจะเป็นทราย น้ำ หรือน้ำผลไม้ เราสามารถถ่ายเทจากภาชนะหนึ่งไปยังภาชนะอื่นได้ และมองเห็นได้ว่า เกิดอะไรขึ้น แล้วอากาศที่เรามองไม่เห็นล่ะ เป็นอย่างไร เราต้องการอากาศเพื่ออะไร และระฆังดำน้ำของนักดำน้ำทำงานอย่างไร
 ภาพรวมการทดลอง
         ถ้าชีวิตอยู่ท่ามกลางทะเลอากาศซึ่งเรามองไม่เห็นและสัมผัสไม่ได้ แต่บริเวณใต้น้ำ เราสามารถทำให้อากาศมีตัวตนได้ในรูปของฟองอากาศ ที่ลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำ นอกจากนี้ เด็กๆยังสามารถถ่ายเทอากาศ บริเวณใต้น้ำจากภาชนะหนึ่งไปยังภาชนะอีกใบหนึ่งได้ด้วย
วัสดุอุปกรณ์
สำหรับการทดลองรวม
      อ่างแก้วหรือพลาสติกใสใบใหญ่
      สีผสมอาหาร สีน้ำ หรือหมึก
      แก้วน้ำ
      ผ้าเช็ดมือ (สำหรับซับน้ำ)
      น้ำ


สำหรับเด็กทุกคน
      หลอดดูด
สำหรับทำการทดลองเพิ่มเติม
      ถ้วยเทียน
      เจลลี่รูปสัตว์ ชิ้นเล็กๆ เช่นรูปหมี
      กระถางต้นไม้ทำจากดินเผา มีรูก้นกระถาง
      แก้วน้ำ 2 ใบ ขนาดต่างกัน ขนาดเล็กและขนาดกลาง
      หลอดดูดแบบงอได้
(รูปที่ 1)



เรื่องอากาศ
ปรากฏการณ์ อากาศมีตัวตน
การทดลอง    ที่ 1





สถานีเติมลม
เกิดอะไรขึ้น
        การกดแก้วเปล่าคว่ำลงไปในน้ำในแนวตั้ง จะต้องใช้แรงกดมากเป็นพิเศษหากไม่มีฟองอากาศผุดออกมา ภายในแก้วก็จะคงแห้งเหมือนเดิม
        ถ้าเอียงแก้วเล็กน้อย จะมีก๊าซหรือฟองอากาศผุดออกมา และลอยขึ้นมายังผิวน้ำ จะทำให้น้ำเข้าไปในแก้วได้ ด้านในของแก้วจึงเปียก
        เมื่อค่อยๆดึงแก้วขึ้นจากน้ำช้าง จะมีน้ำไหลออกมาจากแก้ว ขณะที่ขอบแก้วอยู่ใกล้ผิวน้ำ เราจะรู้สึกว่ามีแรงต้านการดึงไว้ เมื่อขอบแก้วพ้นจากผิวน้ำ น้ำตาไหลออกมาจากแก้วทันที
        ขณะที่เรา ทดลองยายฟองอากาศ จากแก้วใบหนึ่ง ไปยังแก้วอีกใบจะสังเกตเห็นฟองอากาศ ลอยขึ้นด้านบนอ่างและแก้วใบเล็กที่มีน้ำในที่สุดแก้วใบเล็ก (ข้างบน) จะถูกเติมเต็มด้วยฟองอากาศ และแก้วขนาดกลาง (ข้างล่าง) จะเต็มไปด้วยน้ำ
คำแนะนำ
        เด็กๆสามารถทดสอบได้ว่า ปอดของเราบรรจุอากาศได้มากน้อยแค่ไหนโดยการคว่ำแก้วและกดลงในน้ำให้มิดจากนั้นให้ดึงแก้วขึ้นด้านบนเล็กน้อยโดยปากแก้วยังคงอยู่ใต้ผิวน้ำ
        ให้เด็กแต่ละคนใช้หลอดดูดเป่าลมเข้าไปใต้แก้วน้ำเพื่อให้ฟองอากาศลอยเข้าไปในแก้วอาจใช้หลอดดูดแบบงอได้โดยปรับปลายหลอดด้านที่สั้นให้งอแล้วสอดเข้าไปในแก้ว (รูปที่ 4) ถ้ามีลมในปอดมากน้ำที่ถูกแทนที่ด้วยอากาศ ก็จะไหลออกมาจากแก้วมากเช่นกัน
        จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเด็กๆลองสร้างระฆัง ดำน้ำ จำลองขึ้นเริ่มแรก เจ้าหมีจะมีเรือลำเล็กๆ คือถ้วยเทียน และเข้าไปนั่ง อยู่บนเรือ (รูปที่ 5) เมื่อเจ้าหมีอยากดำลงไปที่ก้นภาชนะ โดยไม่เปียก เด็กๆ จะต้องใช้แก้วใบใหญ่ครอบเรือ ของเจ้าหมี และกดลงไปในน้ำ ในแนวดิ่ง (รูปที่ 6)
        จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อกดกระถางต้นไม้ลงในน้ำ โดยใช้นิ้วอุดรูไว้ก่อน แล้วจึงเปิดออกเมื่อ กระถางอยู่ในน้ำใครสามารถเติมน้ำในขวดให้เต็มได้เร็วที่สุด และจะต้องถือขวดอย่างไร จึงจะเติมน้ำได้เร็วที่สุด

ทำไมเป็นเช่นนั้น
        สสารทุกชนิดต้องการที่อยู่ ถ้าเด็กคนหนึ่งยืนอยู่ เด็กคนอื่นจะเข้าไปยืนซ้อนอยู่ในตำแหน่งเดียวกันไม่ได้ อากาศเกิดจากอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นและอากาศก็ต้องการที่อยู่เช่นเดียวกัน ดังนั้นแม้เราจะมองไม่เห็นอากาศแต่ในแก้วน้ำก็ไม่ได้ว่างเปล่า เพราะมีอากาศอยู่เต็มแก้ว
       เนื่องจากอากาศจะเบากว่าน้ำ อากาศ 1 ลิตร มีน้ำหนักประมาณ 1.3 กรัม ในขณะที่น้ำ 1 ลิตร มีน้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ดังนั้น ฟองอากาศในน้ำ จึงลอยขึ้นไปยังผิวน้ำ เป็นเส้นตรงเสมอ
       เมื่อเด็กๆคว่ำแก้วแล้วกดลงใต้น้ำในแนวดิ่ง ผิวด้านในแก้วจึงยังคงแห้ง แต่เนื่องจากอากาศจะเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉาก ขึ้นด้านบน อากาศจึงไม่สามารถขุดออกมาจากแก้วน้ำได้ ดังนั้นภายในแก้วน้ำจึงไม่มีพื้นที่ว่างให้กับน้ำ
        เมื่อจับแก้วใต้น้ำให้เอียงเล็กน้อยอากาศจะพูดออกมาได้และน้ำจะไหลเข้าไปแทนที่ ฟองอากาศจะเคลื่อนที่ไปด้านบน ภายในอ่างและแก้วใบเล็ก ที่มีน้ำอยู่เต็ม อากาศจะรวมตัวกัน ที่สวนบนของแก้ว และ ต้องการพื้นที่มากขึ้น จึงพยายามพูดออกมาจากแก้วใบเล็กทุกครั้งที่แก้วเอียง






















วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

Note 4 Date 30th August 2019



Note 4 Date 30th August  2019






อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ห้องสมุดและนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในกลุ่มการทดลองที่เลือกคือ

>>การเปลี่ยนสีผักกาดขาว<<



อุปกรณ์ :  1.แก้วน้ำ 4ใบ
         2.สีผสมอาหาร 4 สี
         3.ผักกาดขาว 4 ใบ

การทดลอง : นำสีผสมอาหารแต่ละสี ใส่ลงไปในแก้วน้ำแต่ละใบ จากนั้นนำผักกาดขาวปักไว้ในแก้ว            ทิ้งไว้ข้ามคืน ง่ายๆ แค่นี้ ใบผักกาดขาวของคุณก็เปลี่ยนเป็นมีสีสันสวยงามแล้ว

คำอธิบาย : นั่นเพราะปกติพืชจะคอยดูดซับน้ำ จึงทำให้มันดูดสีที่ผสมในน้ำผ่านท่อไปปรากฏบนใบ 
          นั้นเอง


คลิปวิดีโอการทดลอง